พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
เหรียญไข่กลม หั...
เหรียญไข่กลม หันข้าง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฉลองอายุ 80 ปี (( บล็อควงเดือน ))
เหรียญหันข้างหลวงพ่อเงิน หรือ เหรียญหลวงพ่อเงินพันชั่ง ที่ออกในคราวฉลองอายุครบ 80 ปี ของหลวงพ่อเงิน เมื่อปี พ.ศ.2513 แต่ด้วยความที่ชื่อรุ่นนั้นไปพิมพ์ไว้บนกล่องมิได้ระบุไว้บนเหรียญ อีกทั้งพระที่ออกจากวัดส่วนมากจะใส่ซองพลาสติก แบบลงกล่องมีน้อยมากทุกวันนี้กล่องก็แทบจะไม่พบแล้ว ทำให้ผู้ที่รู้ชื่อจริงนั้นมีน้อยมาก ในที่สุดวงการพระเครื่องก็เลยเรียกชื่อกันแบบง่ายๆ จนกลายหรียญหันข้างหลวงพ่อเงินนั่นเอง นับว่าน่าเสียดายมากๆ ที่ชื่ออันเป็นมงคลนั้นถูกลบลืมไป
ว่ากันด้วยเรื่องการสร้างเหรียญรุ่นนี้คงต้องย้อนไปในปี พ.ศ.2513 เมื่อคราวหลวงพ่ออายุครบ 80 ปี ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2513 ซึ่งถือว่าเป็นแซยิดครั้งหนึ่งเช่นกัน ทางคณะกรรมการวัดได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างพระขึ้นมาชุดหนึ่งไว้เป็นที่ระลึกโดยหลวงพ่อท่านได้อนุญาตจัดสร้างออกมากเป็น 2 แบบ คือพระกริ่งและเหรียญปั๊มรูปไข่ โดยพระกริ่งนั้น คือ กริ่งพันตำลึงทอง ส่วนเหรียญปั๊มนั้นได้ตัดสินใจให้สร้างมาเป็นเหรียญรูปไข่ขนาดกำลังงาม คือสูง 2 นิ้ว และกว้าง 1.2 นิ้ว โดยกำหนดให้มีเอกลักษณ์กว่ารุ่นอื่นตรงที่รูปเหมือนหลวงพ่อนั้นจะไม่ใช่หน้าตรงเหมือนรุ่นก่อนๆ แต่จะใช้รูปเหมือนหันข้างของหลวงพ่อแทน
สัณฐานรูปทรงเหรียญเป็นเหรียญไข่หูในตัว เว้นแต่บล็อกไข่ยาวที่จะมีความยาวกว่าบล็อกอื่นคือยาว 2.2 นิ้ว และกว้าง 1 นิ้ว แต่ทั้ง 4 บล็อกล้วนมีลักษณะโดยรวมเหมือนกัน คือทรงรูปไข่ ด้านหน้าเส้นขอบใหญ่ มีตัวหนังสือคำว่า “หลวงพ่อเงิน ๘๐” อยู่ด้านล่างประกอบด้วยกนกเปลวเพลิง ด้านบนมีชุดยันต์มงคลเก้าอ่านว่า “อะ สัง วิ สุ โร อุ สะ พุ ภะ” ในส่วนตรงกลางจะมีรูปหลวงพ่อหันข้างอยู่กลางเหรียญ พื้นเหรียญเรียบเว้นแต่จะมีเส้นเสี้ยนของบล็อกเท่านั้น ส่วนด้านหลัง จะมีชุดยันต์นะทรหดอยู่ตรงกลาง ด้านล่างมีตัวหนังสือแถวตรงว่า “พระราชธรรมาภรณ์” และล่างสุดเป็นหนังสือแถวโค้ง “๒๐ มีนาคม ๒๕๑๓” คือวันที่ปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้นั่นเอง ในส่วนของพื้นด้านหลังจะมีจุดไข่ปลาจำนวนมาก นอกจากนี้เอกลักษณ์ด้านหลังของพระรุ่นนี้จะมียันต์แบบเต็มและขาด คือบริเวณท้องยันต์นะทรหดนั้นตื้นเลือนปั๊มไม่เต็ม ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดจากการปั๊ม
ในส่วนของพิมพ์และบล็อกนั้นรุ่นนี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์ 4 บล็อก คือ พิมพ์หน้าเดียวและสองหน้า ส่วนบล็อกคือบล็อกทองคำ บล็อกวงเดือน บล็อกสายฝนและบล็อกไข่ยาว เนื้อหานั้นมีการสร้างออกมา 5 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองแดงรมดำและทองแดงกะไหล่ทอง จำนวนการสร้างปรากฏชัดตามหนังสือ เฉลิมพระคุณพระราชธรรมาภรณ์ ที่พิมพ์มาแจกในวันที่ 20-21 มีนาคม 2513 ว่าเนื้อทองคำนั้นสร้างทั้งสิ้น 801 เหรียญ ส่วนบล็อกที่ใช้ทำเนื้อทองคำมีบล็อกเดียว เป็นบล็อกที่สร้างไว้มากที่สุดและเนื่องจากใช้ทำเนื้อทองคำ จึงถูกเรียกว่าบล็อกทองคำ เปิดให้ทำบุญเหรียญละ 801 บาทเท่ากับจำนวนการสร้าง แต่แม้จะสร้างเยอะขนาดนี้ปรากฏว่าถูกเช่าทำบุญหมดจากวัดก่อนจะสร้างเสร็จเสียด้วย
เนื้อเงินนั้นจำนวนสร้างทั้งสิ้น 2,513 เหรียญ ให้ทำบุญออกจากวัดเหรียญละ 50 บาท โดยใช้บล็อกทองคำเช่นเดียวกับเนื้อทองคำ เพราะการสร้างนั้นปั๊มเนื้อทองคำก่อนแล้วมาปั๊มเนื้อเงิน จึงใช้บล็อกปั๊มต่อมาเลย แต่กระนั้นก็ยังมีการถกเถียงว่ามีเนื้อเงินบล็อกวงเดือนสร้างออกมาด้วย ซึ่งก็ได้รับการยอมรับในวงการพระเครื่อง แต่ราคาเล่นหาจะเบากว่าบล็อกทองคำ
เนื้อนวโลหะนั้นจัดเป็นเนื้อพิเศษที่ใช้พิมพ์พิเศษจัดสร้าง คือเนื้อนวะโลหะจะจัดสร้างเป็นพิมพ์ 2 หน้า โดยใช้บล็อกวงเดือนสร้าง แต่ทั้งสองหน้าจะต่างกันที่ขอบเหรียญคือหน้าหลังนั้นขอบจะเล็กกว่าขอบด้านหน้า และด้านบนจะมีหนังสือว่า "พระราชธรรมาภรณ์" แทนยันต์มงคลเก้า ส่วนด้านล่างมีวันที่คือ "๒๐ มีนาคม ๒๕๑๓" ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงดังนั้น จึงเชื่อว่าสร้างเพิ่มมาภายหลังจากหนังสือพิมพ์ออกมาแล้ว(กริ่งพันตำลึงทอง หนังสือก็กล่าวถึงแต่เนื้อทองคำ ไม่ได้ระบุว่าสร้างเนื้อเงินกับนวโลหะด้วย แต่จากการสอบถามกรรมการวัดสมัยนั้นระบุว่า ในหนังสือคือพระที่ออกให้ทำบุญในงานช่วงเดือนมีนาคม ส่วนเนื้อที่สร้างเพิ่มมา เช่นเนื้อทองคำตั้งแต่หมายเลข 81 สร้างช่วงเดือนกันยายนปีเดียวกัน เนื่องจากตรงกับวันเกิดหลวงพ่อเงินนั่นเอง) จำนวนสร้างว่ากันว่ามีน้อยกว่าเนื้อเงินเสียอีก
นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันมาตลอดว่าเนื้อนวโลหะพิมพ์หน้าเดียวมีการสร้างออกมาหรือไม่ เพราะส่วนกลางและกรุงเทพมหานครไม่ยอมรับว่ามีการสร้างเนื้อนวโลหะหน้าเดียวออกมา แต่คนดอนยายหอมเองพูดเรื่องเนื้อนวโลหะหน้าเดียวว่ามีอยู่จริง แต่ไม่ใช่เหรียญที่วัดตั้งใจสร้าง เดาว่าโรงงานได้นำเอาแผ่นนวโลหะไปปั๊มเองแล้วส่งมาให้ที่วัด ซึ่งแผ่นนวโลหะของรุ่นนี้จะแก่เนื้อเงินเมื่อล้างครั้งแรกเนื้อจะกลายเป็นสีเงินทั้งเหรียญแล้วเริ่มกลับเป็นสีส้มไล่จากขอบ ก่อนจะกลายเป็นเขียวและดำในที่สุด ซึ่งเนื้อนวะหน้าเดียวนี้มักจะกลับดำจนเหมือนถูกรมดำมาจากวัดด้วย ส่วนตัวเคยเห็นการถกเถียงและท้าล้างกันต่อหน้าต่อตา พอล้างมาแล้วก็เป็นเช่นที่อธิบายมา แล้วพระแท้เนื้อไม่ใช้ทองแดงแน่นอน และลักษณะการกลับก็ไม่ใช่เนื้อเงิน ทำให้ส่วนตัวเชื่อว่ามีเนื้อนวโลหะหน้าเดียวจริง เพียงแต่วัดจะได้ตั้งใจทำมาหรือไม่ก็ไม่ทราบได้
สำหรับเนื้อทองแดงนั้นมีจำนวนสร้างมากที่สุด คือ 80,081 เหรียญ ให้ทำบุญเหรียญละ 10 บาท มีด้วยกัน 2 พิมพ์ 4 บล็อก จึงขออธิบายที่พิมพ์แรกคือพิมพ์ 2 หน้าก่อน เพราะมีบล็อกเดียวเหมือนกันหมด โดยเนื้อทองแดงพิมพ์สองหน้าก็ใช้บล็อกวงเดือนมาสร้างเช่นเดียวกับเนื้อนวโลหะสองหน้า ต่างกันที่เนื้อทองแดงสองหน้าจะเป็นขอบหนาทั้งสองด้าน ในส่วนจำนวนสร้างว่ากันว่ามีแค่หลักร้อยพบเจอยาก ส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงรมดำ แต่กะไหล่ทองก็มีออกมา โดยว่ากันว่าพิมพ์สองหน้านั้นสร้างหลังจากชุดแรกหน้าเดียวแต่ทันหลวงพ่อเช่นกัน ที่สันนิษฐานเช่นนี้เนื่องจากแม่พิมพ์มีขี้กลากที่บริเวณหน้าอกหลวงพ่อแล้วนั่นเอง
เนื้อทองแดงบล็อกทองคำ ลักษณะของบล็อกนี้คือพื้นเหรียญด้านหน้าส่วนใหญ่จะเรียบแต่มีเส้นวิ่งจากปลายคางหลวงพ่อไปหาขอบเหรียญที่บริเวณ 8 นาฬิกา นอกจากนี้จะมีเส้นวิ่งขนานดั้งจมูกหลวงพ่ออีกเส้น บล็อกนี้มักจะมีเนื้อเกินที่ใต้หน้าอกหลวงพ่อและขอบเหรียญด้านในล้นเกินออกมา ซึ่งความมากน้อยก็แล้วแต่ละเหรียญ
บล็อกวงเดือน ลักษณะโดยรวมใกล้เคียงกับบล็อกทองคำ แต่ที่พื้นเหรียญไปจนถึงเส้นขอบเหรียญจะมีเส้นวิ่งเป็นแนวโค้งลักษณะเหมือนเส้นกลึง คาดว่าน่าจะเกิดจากการกลึงแม่พิมพ์ จึงทำให้ถูกเรียกว่าบล็อกวงเดือนนั่นเอง
บล็อกสายฝน บล็อกนี้แทบจะเป็นฝาแฝดกับบล็อกวงเดือนเลยก็ว่าได้ โดยรายละเอียดเหมือนกับบล็อกวงเดือนทุกประการ ต่างกันที่พื้นเหรียญจะไม่มีเส้นวงเดือน หากแต่มีเส้นวิ่งเป็นเส้นเสี้ยนตรงถักทอไม่เป็นระเบียบ แต่ส่วนใหญ่จะเกือบตรงดิ่ง จึงถูกเรียกว่าบล็อกสายฝน เดาว่าเส้นเสี้ยนน่าจะเกิดจากการไล่ผิวแม่พิมพ์ให้เรียบ สำหรับท่านที่สับสนว่าบล็อกนี้มีตัวตนหรือไม่ก็ขอตอบตอนนี้เลยว่ามีแน่ หายากกว่าบล็อกทองคำเสียด้วย
บล็อกไข่ยาว บล็อกนี้รูปทรงเหรียญจะแคบแต่ยาวกว่า คือดูรีกว่านั่นเอง ทำให้ถูกเรียกว่าบล็อกไข่ยาวไปในที่สุด นอกจากนี้เส้นยันต์ด้านหลังจะมีลักษณะเรียวเล็กกว่าบล็อกอื่นๆ เป็นเนื้อทองแดงรมดำ ในส่วนของเนื้อทองแดงกะไหล่ทองที่ออกจากวัดนั้นก็ว่ากันว่ามีเพียงบล็อกไข่ยาวเท่านั้นที่วัดทำกะไหล่ทองออกมาแจกแม่ครัว ส่วนบล็อกอื่นๆ ก็ไม่ได้รับการยอมรับว่ามีกะไหล่ทองวัดออกมา แต่เรื่องนี้ต้องว่ากันตามความชอบความศรัทธา เพราะคนรู้เรื่องนั้นหาตัวตนไม่ได้อีกแล้ว แต่ที่กล้ายืนยันจริงๆ คือบล็อกไข่ยาวนั้นมีกะไหล่วัดแน่นอน
ในส่วนของเนื้อทองแดงนั้นมีการรมดำทุกเหรียญเพื่อรักษาผิวพระหากแต่มีการรม 2 แบบ ที่ทางลึกเขาเรียกว่าแบบรมวัดและรมมันปู คือหากเป็นผิวรมดำแบบรมมันปูนั้นหลังจากรมดำไปแล้วได้มีการทาน้ำมันไม่ให้เหรียญเกิดสนิมอีกชั้น ทำให้เหรียญที่สวยๆ มองตาเปล่าจะเงาและเหมือนสีเทา แต่หากถ่ายรูปอาจจะมองเหมือนผิวเปิดเพราะการทาน้ำมันทับคงทำให้ผิวรมดำเดิมบางไปนั่นเอง
ส่วนผิวอีกแบบที่เรียกว่ารมวัดนั้นเชื่อกันมานานและเล่ากันต่อๆ มาว่าหลวงพ่อเงินท่านมักจะนิยมนำพระชุดหนึ่งมาเข้าพิธีเษกนำฤกษ์ไว้ก่อน โดยจะนำใบขี้เหล็กและสะเดาที่หาได้ง่ายในสมัยนั้นมาวางรองที่ก้นบาตรพระแล้ววางเหรียญทองแดงลงไป เมื่อเต็มหนึ่งชั้นแล้ววางใบไม้ทับแล้ววางเหรียญชั้นที่สองต่อไป ทำเช่นนั้นจนเต็มแล้วปิดบาตรก่อนสุมด้วยฟืนก่อนจะเผาไฟเป็นเวลานานจนใบไม้นั้นกลายเป็นเขม่าขี้เถ้าปิดคลุมเหรียญ ซึ่งผิวแบบนี้มักจะเห็นผิวรมดำเป็นลักษณะด้านฝาดๆ และมักจะมีคราบเขม่าติดคลุมผิวอยู่อีกด้วย ลักษณะเด่นอีกอย่างคือมักจะเกิดผิวรุ้งแห้งๆ ติดเหรียญเอาไว้ด้วยนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ปดอนยายหอมดอทคอม
ผู้เข้าชม
4837 ครั้ง
ราคา
โทรถาม
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
บี บุรีรัมย์
ชื่อร้าน
บี บุรีรัมย์
ร้านค้า
bee-kubota.99wat.com
โทรศัพท์
0926924256
ไอดีไลน์
thanamat624
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 773-2-28000-9
หนุมาน พิมพ์นิยม ตัวหนังสือนูน
หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ-บ
พระพุโสธร ปี08 หน้าสรพงษ์ เน
เหรียญกลาก 2 ลป-สุข
พระผงรูปเหมือน หลวงปู่เม้า วัด
เหรียญมหานิยม หลวงปู่เม้า วัดส
รปหล่อ ล-พ เงิน รุ่นปืนแตก
พระขุนแผน เสด็จกลับ ลป-สุภา
พระผงสี่เหลี่ยม ล-ป สุข ปี12
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Muthita
poosit555
หริด์ เก้าแสน
ชาวานิช
เทพจิระ
ว.ศิลป์สยาม
เจริญสุข
โกหมู
tintin
sailom.si
Leksoi8
เนินพระ99
jazzsiam amulet
NongBoss
Puthon161930
จิ๊บพุทธะมงคล
ภูมิ IR
aonsamui
ยุ้ย พลานุภาพ
เสน่ห์พระเครื่อง
someman
Lungchad
kumpha
แมวดำ99
sun99
พีพีพระสมเด็จ
บี บุรีรัมย์
tplas
Popgomes
เอ็ม คงกะพัน
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1722 คน
เพิ่มข้อมูล
เหรียญไข่กลม หันข้าง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฉลองอายุ 80 ปี (( บล็อควงเดือน ))
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
เหรียญไข่กลม หันข้าง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ฉลองอายุ 80 ปี (( บล็อควงเดือน ))
รายละเอียด
เหรียญหันข้างหลวงพ่อเงิน หรือ เหรียญหลวงพ่อเงินพันชั่ง ที่ออกในคราวฉลองอายุครบ 80 ปี ของหลวงพ่อเงิน เมื่อปี พ.ศ.2513 แต่ด้วยความที่ชื่อรุ่นนั้นไปพิมพ์ไว้บนกล่องมิได้ระบุไว้บนเหรียญ อีกทั้งพระที่ออกจากวัดส่วนมากจะใส่ซองพลาสติก แบบลงกล่องมีน้อยมากทุกวันนี้กล่องก็แทบจะไม่พบแล้ว ทำให้ผู้ที่รู้ชื่อจริงนั้นมีน้อยมาก ในที่สุดวงการพระเครื่องก็เลยเรียกชื่อกันแบบง่ายๆ จนกลายหรียญหันข้างหลวงพ่อเงินนั่นเอง นับว่าน่าเสียดายมากๆ ที่ชื่ออันเป็นมงคลนั้นถูกลบลืมไป
ว่ากันด้วยเรื่องการสร้างเหรียญรุ่นนี้คงต้องย้อนไปในปี พ.ศ.2513 เมื่อคราวหลวงพ่ออายุครบ 80 ปี ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2513 ซึ่งถือว่าเป็นแซยิดครั้งหนึ่งเช่นกัน ทางคณะกรรมการวัดได้ขออนุญาตหลวงพ่อจัดสร้างพระขึ้นมาชุดหนึ่งไว้เป็นที่ระลึกโดยหลวงพ่อท่านได้อนุญาตจัดสร้างออกมากเป็น 2 แบบ คือพระกริ่งและเหรียญปั๊มรูปไข่ โดยพระกริ่งนั้น คือ กริ่งพันตำลึงทอง ส่วนเหรียญปั๊มนั้นได้ตัดสินใจให้สร้างมาเป็นเหรียญรูปไข่ขนาดกำลังงาม คือสูง 2 นิ้ว และกว้าง 1.2 นิ้ว โดยกำหนดให้มีเอกลักษณ์กว่ารุ่นอื่นตรงที่รูปเหมือนหลวงพ่อนั้นจะไม่ใช่หน้าตรงเหมือนรุ่นก่อนๆ แต่จะใช้รูปเหมือนหันข้างของหลวงพ่อแทน
สัณฐานรูปทรงเหรียญเป็นเหรียญไข่หูในตัว เว้นแต่บล็อกไข่ยาวที่จะมีความยาวกว่าบล็อกอื่นคือยาว 2.2 นิ้ว และกว้าง 1 นิ้ว แต่ทั้ง 4 บล็อกล้วนมีลักษณะโดยรวมเหมือนกัน คือทรงรูปไข่ ด้านหน้าเส้นขอบใหญ่ มีตัวหนังสือคำว่า “หลวงพ่อเงิน ๘๐” อยู่ด้านล่างประกอบด้วยกนกเปลวเพลิง ด้านบนมีชุดยันต์มงคลเก้าอ่านว่า “อะ สัง วิ สุ โร อุ สะ พุ ภะ” ในส่วนตรงกลางจะมีรูปหลวงพ่อหันข้างอยู่กลางเหรียญ พื้นเหรียญเรียบเว้นแต่จะมีเส้นเสี้ยนของบล็อกเท่านั้น ส่วนด้านหลัง จะมีชุดยันต์นะทรหดอยู่ตรงกลาง ด้านล่างมีตัวหนังสือแถวตรงว่า “พระราชธรรมาภรณ์” และล่างสุดเป็นหนังสือแถวโค้ง “๒๐ มีนาคม ๒๕๑๓” คือวันที่ปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้นั่นเอง ในส่วนของพื้นด้านหลังจะมีจุดไข่ปลาจำนวนมาก นอกจากนี้เอกลักษณ์ด้านหลังของพระรุ่นนี้จะมียันต์แบบเต็มและขาด คือบริเวณท้องยันต์นะทรหดนั้นตื้นเลือนปั๊มไม่เต็ม ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์ชำรุดจากการปั๊ม
ในส่วนของพิมพ์และบล็อกนั้นรุ่นนี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์ 4 บล็อก คือ พิมพ์หน้าเดียวและสองหน้า ส่วนบล็อกคือบล็อกทองคำ บล็อกวงเดือน บล็อกสายฝนและบล็อกไข่ยาว เนื้อหานั้นมีการสร้างออกมา 5 เนื้อ คือเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองแดงรมดำและทองแดงกะไหล่ทอง จำนวนการสร้างปรากฏชัดตามหนังสือ เฉลิมพระคุณพระราชธรรมาภรณ์ ที่พิมพ์มาแจกในวันที่ 20-21 มีนาคม 2513 ว่าเนื้อทองคำนั้นสร้างทั้งสิ้น 801 เหรียญ ส่วนบล็อกที่ใช้ทำเนื้อทองคำมีบล็อกเดียว เป็นบล็อกที่สร้างไว้มากที่สุดและเนื่องจากใช้ทำเนื้อทองคำ จึงถูกเรียกว่าบล็อกทองคำ เปิดให้ทำบุญเหรียญละ 801 บาทเท่ากับจำนวนการสร้าง แต่แม้จะสร้างเยอะขนาดนี้ปรากฏว่าถูกเช่าทำบุญหมดจากวัดก่อนจะสร้างเสร็จเสียด้วย
เนื้อเงินนั้นจำนวนสร้างทั้งสิ้น 2,513 เหรียญ ให้ทำบุญออกจากวัดเหรียญละ 50 บาท โดยใช้บล็อกทองคำเช่นเดียวกับเนื้อทองคำ เพราะการสร้างนั้นปั๊มเนื้อทองคำก่อนแล้วมาปั๊มเนื้อเงิน จึงใช้บล็อกปั๊มต่อมาเลย แต่กระนั้นก็ยังมีการถกเถียงว่ามีเนื้อเงินบล็อกวงเดือนสร้างออกมาด้วย ซึ่งก็ได้รับการยอมรับในวงการพระเครื่อง แต่ราคาเล่นหาจะเบากว่าบล็อกทองคำ
เนื้อนวโลหะนั้นจัดเป็นเนื้อพิเศษที่ใช้พิมพ์พิเศษจัดสร้าง คือเนื้อนวะโลหะจะจัดสร้างเป็นพิมพ์ 2 หน้า โดยใช้บล็อกวงเดือนสร้าง แต่ทั้งสองหน้าจะต่างกันที่ขอบเหรียญคือหน้าหลังนั้นขอบจะเล็กกว่าขอบด้านหน้า และด้านบนจะมีหนังสือว่า "พระราชธรรมาภรณ์" แทนยันต์มงคลเก้า ส่วนด้านล่างมีวันที่คือ "๒๐ มีนาคม ๒๕๑๓" ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงดังนั้น จึงเชื่อว่าสร้างเพิ่มมาภายหลังจากหนังสือพิมพ์ออกมาแล้ว(กริ่งพันตำลึงทอง หนังสือก็กล่าวถึงแต่เนื้อทองคำ ไม่ได้ระบุว่าสร้างเนื้อเงินกับนวโลหะด้วย แต่จากการสอบถามกรรมการวัดสมัยนั้นระบุว่า ในหนังสือคือพระที่ออกให้ทำบุญในงานช่วงเดือนมีนาคม ส่วนเนื้อที่สร้างเพิ่มมา เช่นเนื้อทองคำตั้งแต่หมายเลข 81 สร้างช่วงเดือนกันยายนปีเดียวกัน เนื่องจากตรงกับวันเกิดหลวงพ่อเงินนั่นเอง) จำนวนสร้างว่ากันว่ามีน้อยกว่าเนื้อเงินเสียอีก
นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันมาตลอดว่าเนื้อนวโลหะพิมพ์หน้าเดียวมีการสร้างออกมาหรือไม่ เพราะส่วนกลางและกรุงเทพมหานครไม่ยอมรับว่ามีการสร้างเนื้อนวโลหะหน้าเดียวออกมา แต่คนดอนยายหอมเองพูดเรื่องเนื้อนวโลหะหน้าเดียวว่ามีอยู่จริง แต่ไม่ใช่เหรียญที่วัดตั้งใจสร้าง เดาว่าโรงงานได้นำเอาแผ่นนวโลหะไปปั๊มเองแล้วส่งมาให้ที่วัด ซึ่งแผ่นนวโลหะของรุ่นนี้จะแก่เนื้อเงินเมื่อล้างครั้งแรกเนื้อจะกลายเป็นสีเงินทั้งเหรียญแล้วเริ่มกลับเป็นสีส้มไล่จากขอบ ก่อนจะกลายเป็นเขียวและดำในที่สุด ซึ่งเนื้อนวะหน้าเดียวนี้มักจะกลับดำจนเหมือนถูกรมดำมาจากวัดด้วย ส่วนตัวเคยเห็นการถกเถียงและท้าล้างกันต่อหน้าต่อตา พอล้างมาแล้วก็เป็นเช่นที่อธิบายมา แล้วพระแท้เนื้อไม่ใช้ทองแดงแน่นอน และลักษณะการกลับก็ไม่ใช่เนื้อเงิน ทำให้ส่วนตัวเชื่อว่ามีเนื้อนวโลหะหน้าเดียวจริง เพียงแต่วัดจะได้ตั้งใจทำมาหรือไม่ก็ไม่ทราบได้
สำหรับเนื้อทองแดงนั้นมีจำนวนสร้างมากที่สุด คือ 80,081 เหรียญ ให้ทำบุญเหรียญละ 10 บาท มีด้วยกัน 2 พิมพ์ 4 บล็อก จึงขออธิบายที่พิมพ์แรกคือพิมพ์ 2 หน้าก่อน เพราะมีบล็อกเดียวเหมือนกันหมด โดยเนื้อทองแดงพิมพ์สองหน้าก็ใช้บล็อกวงเดือนมาสร้างเช่นเดียวกับเนื้อนวโลหะสองหน้า ต่างกันที่เนื้อทองแดงสองหน้าจะเป็นขอบหนาทั้งสองด้าน ในส่วนจำนวนสร้างว่ากันว่ามีแค่หลักร้อยพบเจอยาก ส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงรมดำ แต่กะไหล่ทองก็มีออกมา โดยว่ากันว่าพิมพ์สองหน้านั้นสร้างหลังจากชุดแรกหน้าเดียวแต่ทันหลวงพ่อเช่นกัน ที่สันนิษฐานเช่นนี้เนื่องจากแม่พิมพ์มีขี้กลากที่บริเวณหน้าอกหลวงพ่อแล้วนั่นเอง
เนื้อทองแดงบล็อกทองคำ ลักษณะของบล็อกนี้คือพื้นเหรียญด้านหน้าส่วนใหญ่จะเรียบแต่มีเส้นวิ่งจากปลายคางหลวงพ่อไปหาขอบเหรียญที่บริเวณ 8 นาฬิกา นอกจากนี้จะมีเส้นวิ่งขนานดั้งจมูกหลวงพ่ออีกเส้น บล็อกนี้มักจะมีเนื้อเกินที่ใต้หน้าอกหลวงพ่อและขอบเหรียญด้านในล้นเกินออกมา ซึ่งความมากน้อยก็แล้วแต่ละเหรียญ
บล็อกวงเดือน ลักษณะโดยรวมใกล้เคียงกับบล็อกทองคำ แต่ที่พื้นเหรียญไปจนถึงเส้นขอบเหรียญจะมีเส้นวิ่งเป็นแนวโค้งลักษณะเหมือนเส้นกลึง คาดว่าน่าจะเกิดจากการกลึงแม่พิมพ์ จึงทำให้ถูกเรียกว่าบล็อกวงเดือนนั่นเอง
บล็อกสายฝน บล็อกนี้แทบจะเป็นฝาแฝดกับบล็อกวงเดือนเลยก็ว่าได้ โดยรายละเอียดเหมือนกับบล็อกวงเดือนทุกประการ ต่างกันที่พื้นเหรียญจะไม่มีเส้นวงเดือน หากแต่มีเส้นวิ่งเป็นเส้นเสี้ยนตรงถักทอไม่เป็นระเบียบ แต่ส่วนใหญ่จะเกือบตรงดิ่ง จึงถูกเรียกว่าบล็อกสายฝน เดาว่าเส้นเสี้ยนน่าจะเกิดจากการไล่ผิวแม่พิมพ์ให้เรียบ สำหรับท่านที่สับสนว่าบล็อกนี้มีตัวตนหรือไม่ก็ขอตอบตอนนี้เลยว่ามีแน่ หายากกว่าบล็อกทองคำเสียด้วย
บล็อกไข่ยาว บล็อกนี้รูปทรงเหรียญจะแคบแต่ยาวกว่า คือดูรีกว่านั่นเอง ทำให้ถูกเรียกว่าบล็อกไข่ยาวไปในที่สุด นอกจากนี้เส้นยันต์ด้านหลังจะมีลักษณะเรียวเล็กกว่าบล็อกอื่นๆ เป็นเนื้อทองแดงรมดำ ในส่วนของเนื้อทองแดงกะไหล่ทองที่ออกจากวัดนั้นก็ว่ากันว่ามีเพียงบล็อกไข่ยาวเท่านั้นที่วัดทำกะไหล่ทองออกมาแจกแม่ครัว ส่วนบล็อกอื่นๆ ก็ไม่ได้รับการยอมรับว่ามีกะไหล่ทองวัดออกมา แต่เรื่องนี้ต้องว่ากันตามความชอบความศรัทธา เพราะคนรู้เรื่องนั้นหาตัวตนไม่ได้อีกแล้ว แต่ที่กล้ายืนยันจริงๆ คือบล็อกไข่ยาวนั้นมีกะไหล่วัดแน่นอน
ในส่วนของเนื้อทองแดงนั้นมีการรมดำทุกเหรียญเพื่อรักษาผิวพระหากแต่มีการรม 2 แบบ ที่ทางลึกเขาเรียกว่าแบบรมวัดและรมมันปู คือหากเป็นผิวรมดำแบบรมมันปูนั้นหลังจากรมดำไปแล้วได้มีการทาน้ำมันไม่ให้เหรียญเกิดสนิมอีกชั้น ทำให้เหรียญที่สวยๆ มองตาเปล่าจะเงาและเหมือนสีเทา แต่หากถ่ายรูปอาจจะมองเหมือนผิวเปิดเพราะการทาน้ำมันทับคงทำให้ผิวรมดำเดิมบางไปนั่นเอง
ส่วนผิวอีกแบบที่เรียกว่ารมวัดนั้นเชื่อกันมานานและเล่ากันต่อๆ มาว่าหลวงพ่อเงินท่านมักจะนิยมนำพระชุดหนึ่งมาเข้าพิธีเษกนำฤกษ์ไว้ก่อน โดยจะนำใบขี้เหล็กและสะเดาที่หาได้ง่ายในสมัยนั้นมาวางรองที่ก้นบาตรพระแล้ววางเหรียญทองแดงลงไป เมื่อเต็มหนึ่งชั้นแล้ววางใบไม้ทับแล้ววางเหรียญชั้นที่สองต่อไป ทำเช่นนั้นจนเต็มแล้วปิดบาตรก่อนสุมด้วยฟืนก่อนจะเผาไฟเป็นเวลานานจนใบไม้นั้นกลายเป็นเขม่าขี้เถ้าปิดคลุมเหรียญ ซึ่งผิวแบบนี้มักจะเห็นผิวรมดำเป็นลักษณะด้านฝาดๆ และมักจะมีคราบเขม่าติดคลุมผิวอยู่อีกด้วย ลักษณะเด่นอีกอย่างคือมักจะเกิดผิวรุ้งแห้งๆ ติดเหรียญเอาไว้ด้วยนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ปดอนยายหอมดอทคอม
ราคาปัจจุบัน
โทรถาม
จำนวนผู้เข้าชม
4838 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
บี บุรีรัมย์
ชื่อร้าน
บี บุรีรัมย์
URL
http://www.bee-kubota.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0926924256
ID LINE
thanamat624
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 773-2-28000-9
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี